เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด

เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด

เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด

เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด

เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด

เหล็กเส้นกับข้อมูลที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเหล็กเส้นเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยม และมีความสำคัญต่องานก่อสร้างมาก ๆ ซึ่งวันนี้แอดมินจะพาพี่ ๆ ผู้รับเหมามาดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ทุกท่านอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ

ข้อมูลจำเพาะของเหล็กเส้น

พี่ ๆ ผู้รับเหมาหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กเส้นในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะตัว ลักษณะทั่วไป หรือเหล็กเส้นยาวกี่เมตร เป็นต้น โดยที่ลักษณะของเหล็กเส้นก่อสร้างจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ เหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อย ซึ่งเหล็กเส้นก่อสร้างทั้งสองชนิดนี้จะมีลักษณะทั่วไป และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยข้อมูลจำเพาะของเหล็กเส้นจะแบ่งออกเป็น ดังนี้

  1. เหล็กเส้นกลม
  2. เหล็กเส้นข้ออ้อย
  3. ความแตกต่างระหว่างเหล็กเส้นก่อสร้างทั้ง 2 แบบ

ลักษณะทั่วไปของเหล็กเส้น

เหล็กเส้นก่อสร้างจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง โดยความยาวของเหล็กที่ได้รับความนิยมในวงการก่อสร้างจะอยู่ที่ 10 เมตร และ 12 เมตร ซึ่งเหล็กชนิดนี้จะมีลักษณะกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นหน่วยนับมิลลิเมตร แล้วแต่ขนาดของเหล็ก อย่างเช่น เหล็กเส้น 2 หุน จะเท่ากับ เหล็กเส้น 6 มม. และเหล็กเส้น 3 หุน ก็จะเท่ากับ เหล็กเส้น 9 มม. เป็นต้น ในส่วนของลักษณะภายนอกเหล็กเส้นจะมีสีดำตลอดทั้งเส้น โดยที่เส้นของเหล็กจะมีเครื่องหมายที่แสดงเนื้อหารายละเอียดเหล็กอย่างชัดเจน โดยประกอบไปด้วย

ลักษณะเหล็กเส้นกลม

เหล็กเส้นกลม โดยปกติแล้วจะมีลักษณะตามชื่อของเหล็กเลยเพราะเป็นเหล็กเส้นกลมยาว สีดำตลอดทั้งเส้น ผิวเนื้อสัมผัสเรียบเกลี้ยง เนื้อเหล็กเส้นจะต้องไม่แตกร้าว ไม่มีรอยปริ ไม่เป็นสนิม และจะต้องมีภาคตัดขวางกลมสม่ำเสมอกันทั้งเส้นไม่มีคลื่น มีการแสดงสัญลักษณ์ที่ตัวเหล็กไว้อย่างชัดเจน ว่าเหล็กเส้นกลมผลิตที่โรงงานไหน ขนาดของเหล็กเส้นกลมเท่าไหร่ มีชั้นคุณภาพของเหล็กไว้อย่างชัดเจน โดยเหล็กเส้นกลมมีชั้นคุณภาพเดียวคือ SR24

ลักษณะทั่วไปของเหล็กเส้นข้ออ้อย

เหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีบั้งตลอดทั้งเส้น เหล็กเส้นข้ออ้อยจะต้องไม่ปริ ไม่มีรอยแตกแยก แตกร้าว เหล็กเส้นข้ออ้อยจะต้องมีบั้งที่มีระยะที่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งเส้น เหล็กมีสีดำตลอดเส้น และเหล็กจะต้องไม่เป็นสนิม ซึ่งมุมของบั้งกับแกน ในส่วนของมุมแหลมจะต้องไม่น้อยกว่า 45 องศา โดยชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพด้วยกัน แต่ในปัจจุบันจะนิยมใช้ชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอีกหนึ่งชั้นคุณภาพคือ SD30

ความแตกต่างระหว่างเหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อย

ในด้านลักษณะภายนอกของเหล็กเส้นทั้ง 2 ชนิด คือ จะมีสีดำตลอดทั้งเส้น โดยเหล็กเส้นกลมจะมีผิวเกลี้ยงไม่มีครีบ หรือบั้งแบบเหล็กเส้นข้ออ้อย ส่วนชั้นคุณภาพก็จะแตกต่างกันโดยเหล็กเส้นกลมจะมีชั้นคุณภาพเดียว แต่เหล็กเส้นข้ออ้อยจะมี 3 ชั้นคุณภาพด้วยกัน

สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ อย่างเช่นเหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก เหล็กเส้น และเหล็กตัวซีอยู่ Metalsteelok เราเป็นโรงงานผลิต และจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเหล็กของเรามีคุณภาพดีได้มาตรฐานถูกต้อง ในราคาที่ย่อมเยาทั้งปลีกและส่ง ซึ่งคุณลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกค้า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการผลิตเหล็กให้กับคุณนะคะ

สนใจสอบถามได้ที่

Tel: 0982288288098972829806296966960839149556

Line ID: @metalsteelok

Email: [email protected]

Facebook: okmetalsteel