เหล็กเส้น มอก.ฉบับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

เหล็กเส้น มอก.ฉบับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

เหล็กเส้น มอก.ฉบับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

เหล็กเส้น มอก.ฉบับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เหล็กเส้นมีความสำคัญต่องานก่อสร้างเป็นอย่างมาก นิยมเรียกกันโดยทั่วไปคือ เหล็กเส้นก่อสร้าง หรืออาจเรียกเหล็กเสริม ใช้สำหรับรับแรงงานคอนกรีตเสริมเหล็ก และงานก่ออิฐ และเนื่องจากปี 2559 ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วสำหรับมาตรฐานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตฉบับใหม่ โดยเหล็กเส้นกลม มอก. 20-2543 เปลี่ยนเป็น มอก. 20-2559 และเหล็กเส้นข้ออ้อย มอก. 24-2548 เปลี่ยนเป็น มอก. 24-2559 แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่ามอก. เหล็กเส้นฉบับ 2559 มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง วันนี้แอดมินจะนำบอกให้รู้กัน

  • เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจวัดค่าเคมี ในเนื้อเหล็กเส้น

เพิ่มการตรวจสอบ ควบคุมค่าเคมีที่มีอยู่ในเนื้อเหล็กเส้นอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยจากเดิมเป็นเพียงการตรวจสอบ ค่าเคมี เพียง 5 ชนิด เท่านั้น แต่สำหรับ มอก. ฉบับใหม่ 2559 นี้ ได้มีการเพิ่มการตรวจค่าเคมี ถึง 19 ชนิดในการรับรองคุณภาพ ได้แก่ Al, Mo, B, Ni, Cr, Co, Cu, Nb, Ti, Pb, Si, V, W, Zr

  • เพิ่มชื่อผู้นำเข้าให้เป็นสัญลักษณ์ลงบนเนื้อเหล็ก 

มาตรฐานใหม่ของมอก.เหล็ก 2559 ต้องการให้ผู้ใช้งานได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ในกรณีที่เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพของเหล็กเส้น ก็สามารถร้องเรียนหรือขอชดเชยจากผู้ผลิตสินค้าได้ จึงระบุให้เหล็กเส้นต้องมีชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทุกเส้น แต่สำหรับเหล็กเส้นนำเข้า การติดต่อผู้ผลิตซึ่งอยู่ต่างประเทศอาจเป็นไปได้ยาก ในมาตรฐานใหม่จึงระบุให้เพิ่มชื่อผู้นำเข้าลงบนเหล็กเส้นทุกเส้น เพื่อเป็นด่านแรกในการรับผิดชอบติดต่อผู้ผลิตจากต่างประเทศ ให้กับผู้ใช้งานในการร้องเรียนสินค้าหรือชดเชยค่าเสียหาย

  • เพิ่มสัญลักษณ์ บอกถึงกรรมวิธีการทำแท่งเหล็ก

ระบุสัญลักษณ์ จำแนกกรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ตรงจุดประสงค์ในการใช้เหล็กเส้นที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และยังเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเลือกใช้ได้อีกด้วย โดยเตาหลอมเหล็กเส้นต้องมีขนาด 5 ตัน ขึ้นไป สำหรับในประเทศไทยจะแบ่งเตาเป็น 2 ชนิด ได้แก่ EF และ IF

-EF หลอมละลายเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้าทำให้เหล็กร้อนจนกลายเป็นน้ำเหล็ก กำจัดสิ่งสกปรกให้ลอยเหนือน้ำเหล็ก เป็นตะกรัน ช่วยให้ได้เหล็กที่สะอาดไม่มีสิ่งสกปรกมาเจือปน

-IF  เตาหลอมเหล็กให้ละลายด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้าให้เกิดความร้อน จนเป็นน้ำเหล็ก จากนั้นจะเติมธาตุที่จำเป็น ซึ่งเหล็กที่ผลิตจากเตาชนิดนี้จะต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่สะอาดมาใช้ในการผลิต เพราะไม่มีกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรกที่ปนมานั่นเอง

นอกจาก 3 เกณฑ์หลักที่เพิ่มขึ้น เพื่อคัดกรองคุณภาพเหล็กเส้นแล้ว ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้ ต้องคัดแยกและควบคุมคุณภาพเศษเหล็กเส้นอย่างเข้มงวด ทำน้ำเหล็กเส้นให้บริสุทธิ์อย่างเหมาะสมด้วยการลด P, S และสารฝังใน มีมาตรฐานการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นเหล็กกล้าไม่เจือ เป็นต้น มอก. ฉบับใหม่นี้ จะช่วยควบคุมมาตรฐานเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย เพื่อให้ได้เหล็กเส้นที่แข็งแกร่ง คุณภาพดี จากการตรวจสอบการผลิตและค่าเคมีอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้เหล็กเส้นก่อสร้างและสร้างความปลอดภัย ไว้วางใจต่อผู้บริโภคนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน Metalsteelok  เป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กกัลวาไนซ์ เหล็กกล่อง เหล็กกล่อง 1×1 เหล็กกล่อง 2×1 เหล็กกล่อง 4×2 เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก และเหล็กตัวซี  ซึ่งเหล็กของเราเป็นเหล็กคุณภาพดี เหล็กราคาถูก มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าคุ้มราคา โดยเราจำหน่ายเหล็กมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี หากต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์ในการผลิตเหล็ก เราพร้อมให้คำแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณ

สนใจสอบถามได้ที่

Tel: 0982288288098972829806296966960839149556

Line ID: @metalsteelok

Email: [email protected]

สนใจเหล็กเส้น