ความสำคัญของเหล็กเส้นต่องานก่อสร้าง
ความสำคัญของเหล็กเส้นต่องานก่อสร้าง อยากที่ทุกคนทราบเหล็กเส้นมีความสำคัญต่องานก่อสร้างเป็นอย่างมาก หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปคือ เหล็กเส้นก่อสร้าง บางท่านอาจเรียกเหล็กเสริม ใช้สำหรับรับแรงงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป วันนี้แอดมินจึงจะพามาดูความสำคัญของเหล็กเส้นต่องานก่อสร้าง ดังนี้ค่ะ
เหล็กเส้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้นๆว่า RB ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.28/2529,32/2532 ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ คือเหล็ก บลส. บกส. TSC และ NS
- RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน
- RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
- RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กเส้นมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ
- RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
- RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
- ผิวของเหล็กเส้นต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
- เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
- เมื่อดัดโค้งงอเหล็กเส้นต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
- เหล็กเส้นต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็กเส้น แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็กเส้น อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
ขนาดและน้ำหนักเหล็กเส้นกลม
ชื่อขนาด | เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) | พื้นที่ตัดขวาง (ตร.มม.) | มวล (กก./ม.) |
RB 6 | 6 | 28.30 | 0.222 |
RB 8 | 8 | 50.30 | 0.395 |
RB 9 | 9 | 63.60 | 0.499 |
RB 10 | 10 | 78.50 | 0.616 |
RB 12 | 12 | 113.10 | 0.888 |
RB 15 | 15 | 176.70 | 1.387 |
RB 19 | 19 | 283.50 | 2.226 |
RB 22 | 22 | 380.10 | 2.984 |
RB 25 | 25 | 490.90 | 3.853 |
RB 28 | 28 | 615.80 | 4.834 |
RB 34 | 34 | 907.90 | 7.127 |
2. เหล็กเส้นข้ออ้อย คือ เหล็กเส้นที่มีบั้ง เพื่อเสริมกำลังยึดระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ถึง 40 มิลลิเมตร ที่ขนาดความยาวที่ 10 และ 12 เมตร ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรง อาทิ อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน เป็นต้น เหล็กเส้นข้ออ้อยแบ่งตามชั้นคุณภาพได้ 3 ประเภท คือ SD30, SD40, SD50
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย
- เหล็กเส้นข้ออ้อย ต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง และต้องไม่ปริ ไม่แตกร้าว ไม่เป็นสนิมขุม
- เหล็กเส้นข้ออ้อย ต้องมีบั้งเป็นระยะๆ เท่าๆกันโดยสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งที่อยู่ตรงข้ามกันต้องมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน
ปัจจุบันงานก่อสร้างส่วนใหญ่นิยมใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เหตุผลคือมีคุณภาพสูงกว่าทั้งแรงดึงและแรงยึดเกาะ ซึ่งสัดส่วนในการใช้ SD50, SD40 ยังมากกว่า SD30 อีกด้วย
ขนาดและน้ำหนักเหล็กเส้นข้ออ้อย
ชื่อขนาด | เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) | พื้นที่ตัดขวาง (ตร.มม.) | มวล (กก./ม.) |
DB 10 | 10 | 78.54 | 0.616 |
DB 12 | 12 | 113.10 | 0.888 |
DB 16 | 16 | 201.06 | 1.578 |
DB 20 | 20 | 314.16 | 2.466 |
DB 22 | 22 | 380.13 | 2.984 |
DB 25 | 25 | 490.87 | 3.853 |
DB 28 | 28 | 615.75 | 4.834 |
DB 32 | 32 | 804.25 | 6.313 |
DB 36 | 26 | 1,017.88 | 7.990 |
DB 40 | 40 | 1,256.64 | 9.865 |
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ถ้าอยากมีบ้านที่แข็งแรง ห้ามพลาด 5 สิ่งนี้ของเหล็กเส้น
- ประเภทและกระบวนการผลิตเหล็กเส้น
- เหล็กประเภทไหนบ้างที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง
สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน Metalsteelok เป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กกัลวาไนซ์ เหล็กกล่อง เหล็กกล่อง 1×1 เหล็กกล่อง 2×1 เหล็กกล่อง 4×2 เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก และเหล็กตัวซี ซึ่งเหล็กของเราเป็นเหล็กคุณภาพดี เหล็กราคาถูก มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าคุ้มราคา โดยเราจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี หากต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์ในการผลิตเหล็ก เราพร้อมให้คำแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณ
สนใจสอบถามได้ที่
Tel: 0982288288, 0989728298, 0629696696, 0839149556
Line ID: @metalsteelok
Email: [email protected]