เหล็กประเภทไหนบ้างที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง
เหล็กประเภทไหนบ้างที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง เหล็กเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่องานโครงสร้างของอาคาร และที่พักอาศัยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึงงานก่อสร้างต่าง ๆ แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานพื้น งานเสา งานคาน งานถนน หรืองานสถาปัตยกรรม เพราะเหล็กทั้งเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีเสถียรภาพในการรองรับน้ำหนัก และสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความคงทนให้กับสิ่งก่อสร้างได้ดีมากกว่าวัสดุชนิดอื่น ทำให้ในปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมก่อสร้างจึงได้มีการผลิตเหล็กประเภทต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อให้ได้เหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณที่มีรูปแบบและคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานโครงสร้างที่มีความแตกต่างกันออกไปมากที่สุด
เหล็กประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง
สำหรับเหล็กที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานโครงสร้างสามารถแบ่งออกได้หลัก ๆ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เหล็กเส้น หรือเหล็กเสริม (Reinforcing Steel) และ เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) ซึ่งเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณนั้นยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลากหลายประเภทตามชนิดของรูปทรง ขนาด รูปแบบในการนำมาใช้งาน และคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน
เหล็กเส้น หรือเหล็กเสริม (Reinforcing Steel)
- เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
เหล็กเส้นกลม หรือเหล็กเส้น RB เป็นเหล็กเส้นที่ลักษณะหน้าตัดกลม เส้นยาว และมีลักษณะพื้นผิวที่เรียบเกลี้ยงจึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ยึดกับคอนกรีต เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตที่ไม่มากพอ ส่งผลให้ผู้รับเหมาและช่างก่อสร้างส่วนใหญ่จึงนิยมนำเหล็กเส้นกลมมาใช้เป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง อาทิเช่น การนำมาใช้เสริมปลอกเสา ปลอกคาน โครงถนน หรือตะแกรงเหล็กสำหรับงานพื้น เป็นต้น
- เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)
เหล็กข้ออ้อย หรือเหล็กเส้น DB เป็นเหล็กเส้นกลมยาวที่พื้นผิวจะมีลักษณะเป็นรอยครีบ หรือรอยบั้ง ที่มีการเว้นระยะห่างอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งความยาวของเหล็กเส้น โดยทั่วไปแล้วเหล็กเส้นข้ออ้อยจะได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเป็นเหล็กเสริมในงานก่อสร้างและงานโครงสร้างขนาดกลางขึ้นไป อย่างเช่น งานก่อสร้างอาคาร และบ้านพักที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเส้นกับคอนกรีต และช่วยให้อาคารและสิ่งก่อสร้างมีความแข็งแรงและคงทนมากยิ่งขึ้น
- เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)
เหล็กรีดซ้ำ เป็นเหล็กเส้นที่ได้มาจากการนำเอาเศษเหล็กจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาเข้าสู่กระบวนการรีดร้อนเพื่อให้ได้เหล็กเส้นกลมสำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างอื่น ๆ ใหม่อีกครั้ง ซึ่งด้วยการนำเศษเหล็กมารีดขึ้นรูปโดยที่ไม่ผ่านการหลอมใหม่นั้น ส่งผลให้เหล็กรีดซ้ำจึงมีค่าการต้านทานแรงดึงและการยืดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้สามารถนำมาใช้ได้เฉพาะในงานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง ที่ไม่ต้องความแข็งแรงทนทานของโครงสร้างมากนักได้เท่านั้น
เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot Rolled Structural Steel)
- เหล็กไอบีม (I-Beam)
เหล็กไอบีม เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่ประกอบไปด้วยส่วนของปีกด้านบนและด้านล่าง (Flanges) และส่วนของแกนกลาง (Web) จึงทำให้ลักษณะของพื้นที่หน้าตัดของเหล็กไอบีมมีความคล้ายคลึงกับรูปตัวไอ (I) ในภาษาอังกฤษ และด้วยรูปลักษณ์เช่นนี้ทำให้เหล็กไอบีมมีความสามารถในการรับน้ำหนัก รับแรงกด แรงสั่นสะเทือน และแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้เหล็กไอบีมเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการทำเสา คาน หรือรางเลื่อนเครนในโรงงานอุตสาหกรรม
- เหล็กฉาก (Angle Bar)
เหล็กฉาก หรือเหล็กมุม เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวแอล (L) ที่มีมุมตั้งฉาก 90 องศา โดยที่บริเวณมุมฉากด้านในจะมีความมนจึงทำให้เหล็กฉากมีความยืดหยุ่นในการรับแรงดึง แรงบิดที่เกิดจากลม และแรงเฉือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เหล็กฉากยังเป็นเหล็กรูปพรรณที่มีความแข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา แต่ทว่าสามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างต่าง ๆ ได้อย่างดี จึงทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ทำเป็นโครงสร้างหลังคา โครงสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เสาโกดัง และเสาส่งไฟฟ้าและวิทยุ เป็นต้น
- เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (Square Bars)
เหล็กสี่เหลี่ยมตัน คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทรงตัน มีพื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ ขอบคม และไร้รอยต่อตลอดทั้งเส้น โดยทั่วไปแล้วเหล็กสี่เหลี่ยมตันนิยมนำมาใช้ในงานตกแต่งและงานโครงสร้างขนาดเล็ก อย่างเช่น เหล็กดัดประตู-หน้าต่าง เหล็กดัดกันขโมย รั้ว และระเบียงกันตก เนื่องจากเหล็กสี่เหลี่ยมตันเป็นเหล็กรูปพรรณที่มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
- เหล็กรางน้ำ (Channel)
เหล็กรางน้ำ เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวยู (U) และมีส่วนของปีก (Flanges) อยู่บริเวณด้านบนหรือด้านล่างเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เหล็กรางน้ำจึงเป็นเหล็กรูปพรรณที่ไม่ได้มีจุดศูนย์กลางในการรับแรงอยู่ที่บริเวณตรงกลางเหมือนอย่างเหล็กรูปพรรณประเภทอื่น ๆ จึงทำให้เหล็กรางน้ำเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็ก และงานตกแต่งที่เน้นความสวยงามเป็นหลัก อย่างเช่น แปหลังคา โครงสร้างบันได และคานขอบด้านนอก เป็นต้น
เหล็กรูปพรรณรีดเย็น (Cold Formed Structural Steel)
- เหล็กกล่องท่อดำ (Carbon Steel Tubes)
เหล็กกล่องท่อดำ เป็นเหล็กรูปพรรณรีดเย็นที่ถูกผลิตขึ้นด้วยการนำเอาแผ่นเหล็กกล้าคุณภาพสูงมาม้วนให้เป็นทรงกระบอกด้วยลูกรีดที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้ได้เหล็กรูปพรรณที่มีลักษณะหน้าตัดกลม มีน้ำหนักเบา ตะเข็บเรียบ มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถรับแรงดันได้ดี ซึ่งทำให้เหล็กกล่องท่อดำเป็นเหล็กรูปพรรณที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานก่อสร้างเสาและโครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่ รวมไปถึงนำมาใช้เป็นท่อลำเลียง ท่องานประปา ท่องานระบบดับเพลิง และท่อระบบน้ำหล่อเย็น
- เหล็กฉากพับ (Cold Formed Channel)
เหล็กฉากพับ เป็นเหล็กรูปพรรณที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกันกับเหล็กฉาก แต่ทว่าจะมีความแตกต่างกันตรงที่เหล็กฉากพับจะเป็นเหล็กรูปพรรณรีดเย็นที่มีมุมมนทั้งบริเวณด้านนอกและด้านใน จึงทำให้เหล็กฉากพับมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นและรับแรงดึงได้เป็นอย่างดี และได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานทั้งในงานโครงสร้างขนาดเล็ก อย่างเช่น งานแปหลังคา งานประตูรั้ว และงานตกแต่ง อย่างเช่น งานเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบบบิวท์อิน เป็นต้น
- เหล็กกล่องเหลี่ยม และเหล็กกล่องแบน (Carbon Steel Tube & Rectangular Steel Tube)
เหล็กกล่องเหลี่ยม และเหล็กกล่องแบน คือ เหล็กรูปพรรณรีดเย็นที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่ด้านในจะมีลักษณะกลวง ไม่มน แต่มีพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้รับเหมาและช่างก่อสร้างส่วนใหญ่มักจะนิยมนำเหล็กกล่องเหลี่ยม และเหล็กกล่องแบน มาใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างเช่น งานเสา นั่งร้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ โครงผนังเบา แปพื้น-หลังคาขนาดเล็ก และงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบบบิวท์อิน เป็นต้น
- เหล็กตัวซี (Light Lip Channel)
เหล็กตัวซี เป็นเหล็กรูปพรรณรีดเย็นที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวซี (C) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งด้วยลักษณะหน้าตัดแบบนี้นั้นทำให้เหล็กตัวซีเป็นเหล็กรูปพรรณที่มีน้ำหนักเบาแต่ทว่ามีความแข็งแรง ยืดหยุ่น และสามารถทนทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เหล็กตัวซีเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานโครงสร้างตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง อาทิเช่น โครง Facade โครงสร้างป้ายโฆษณา โครงสร้างบันได หลังคา และเสาค้ำยัน เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ข้อคำนึงถึงในการใช้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต
- ประเภทและกระบวนการผลิตเหล็กเส้น
- ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นคืออะไร?
สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน Metalsteelok เป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กกัลวาไนซ์ เหล็กกล่อง เหล็กกล่อง 1×1 เหล็กกล่อง 2×1 เหล็กกล่อง 4×2 เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก และเหล็กตัวซี ซึ่งเหล็กของเราเป็นเหล็กคุณภาพดี เหล็กราคาถูก มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าคุ้มราคา โดยเราจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี หากต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์ในการผลิตเหล็ก เราพร้อมให้คำแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณ
สนใจสอบถามได้ที่
Tel: 0982288288, 0989728298, 0629696696, 0839149556
Line ID: @metalsteelok
Email: [email protected]