การตรวจคุณภาพงานเหล็กเส้น
การตรวจคุณภาพงานเหล็กเส้น
การตรวจคุณภาพงานเหล็กเส้น ในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการก่อสร้างได้มีการผลิตเหล็กเส้นขึ้นมามากมาย การผลิตเหล็กเส้นจึงจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุกประการ ดังนั้นปัญหาเรื่องคุณภาพของวัสดุจึงไม่ค่อยมี แต่เนื่องจากเหล็กเส้นในมาตรฐานดังกล่าวมีหลายประการ โดยเฉพาะมีมาตรฐานเหล็กรีดซ้ำและเหล็กกำลังต่ำที่ห้ามใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กเส้นเพิ่มขึ้น ผู้ควบคุมจึงมีหน้าที่ตรวจสอบว่าเหล็กเส้นที่นำมาใช้นั้น ต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ในแบบทุกประการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คุณสมบัติของเหล็กเส้นที่ไม่ควรมองข้าม
- เทคนิคในการเลือกเหล็กเส้นกลมอย่างมีคุณภาพ
- แนะนำวิธีการซื้อเหล็กเส้นอย่างมืออาชีพ
การตรวจเหล็กเส้นและลวดผูกเหล็กเส้น มีดังนี้
- ตรวจชนิด ขนาด ความคลาดเคลื่อน ยี่ห้อของเหล็กเส้น ให้ตรงตามรูปแบบและรายการกำหนด
- ตรวจดูสนิมที่เกาะเหล็กเส้นในเบื้องต้น เพราะเหล็กเส้นที่ร้านค้านำมาส่ง ถ้าเป็นสนิมแล้วกว่าจะ ใช้ก่อสร้างหมด สนิมจะลามกินเนื้อเหล็กจนใช้งานไม่ได้
- แยกกองชนิดและขนาดของเหล็กเส้น จะต้องเก็บไว้ในที่มีสิ่งรองรับกันชื้น และมีสิ่งปกปิดกันฝนได้อย่างดี พร้อมกับมีป้ายบอกชนิดและขนาดเหล็กเส้นไว้อย่างชัดเจน
- ตรวจสอบอย่าให้มีการนำเหล็กเส้นที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เข้ามาปะปนกับเหล็กใหม่ เพราะเหล็กเส้นที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมีกำลังต่ำกว่าเหล็กใหม่
- ตรวจสอบการดัดเหล็กเส้น ในส่วนที่ต้องดัด โดยจะต้องตรวจสอบขนาดของส่วนที่ดัด ระยะของส่วนดัดฉาก การบิดตัวของเหล็กเส้นที่ดัดขึ้นซ้อนกัน ต้องเรียงกันจนไม่มีช่องว่างให้คอนกรีตแทรก
- ตรวจการงอเหล็กเส้นให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพราะจะเกี่ยวกับการคลากของเหล็ก เหล็กเส้นที่งอปลายมาก การเกาะจับคอนกรีตก็มีมาก การคลากก็มีน้อย
- ตรวจการต่อเหล็กเส้นจะต้องยึดตามหลักวิชาการที่กำหนดว่า ถ้ามีขนาดเล็กกว่า 25 มิลลิเมตร จะต่อด้วยวิธีทาบระยะทาบที่น้อยที่สุด
- สำหรับการต่อเหล็กเส้นรับแรงดึง เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 36 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง ควรหลีกเลี่ยงการต่อเหล็กเส้น ณ จุดที่เกิดแรงดึงสูงสุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากจำเป็นควรใช้วิธีต่อเชื่อม หรือวิธีต่อทาบ โดยให้มีการถ่ายแรงได้เต็มที่ ถ้าระยะช่องว่างทางด้านข้างของเหล็กเส้นที่ต่อกันแคบกว่า 12 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง หรืออยู่ห่างจากขอบนอกเป็นระยะไม่ถึง 0.15 เมตร หรือ 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง จะต้อง เพิ่มระยะทาบอีกร้อยละ 20
- สำหรับการต่อเหล็กเส้นรับแรงอัด ถ้าคอนกรีตมีกำลังอัดเท่ากับหรือมากกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 20 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้น ผ่านศูนย์กลาง สำหรับคอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรให้เพิ่มระยะทาบอีก 1/3 ของค่าข้างบนนี้ ความยาวของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบที่นำมาทาบต่อกันต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าที่กำหนดสำหรับเหล็กข้ออ้อย และไม่ว่ากรณีใดความยาวของรอยทาบต้องไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ถ้าต้องนำเหล็กเส้นที่มีขนาดใหญ่มาทาบกับเหล็กเส้นที่มีขนาดเล็ก ให้ใช้ระยะทาบของเหล็กเส้นขนาดใหญ่ ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 25 มิลลิเมตรให้ใช้วิธีต่อเชื่อม โดยรอยต่อเชื่อมที่ถูกต้อง ต้องสามารถรับแรงดึงได้อย่างน้อยร้อยละ 125 ของค่ากำลังครากของเหล็กเส้นตามที่ระบุไว้
- ตรวจการจัดเหล็กเส้น โดยจะต้องจัดระยะหรือช่องว่างให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบ การเสริมเหล็กเส้นในคอนกรีตมากเกินความจำเป็น ไม่ได้มีข้อเสียแต่เพียงในเรื่องของการสิ้นเปลืองและไม่ประหยัดเท่านั้น บางครั้งทำให้มีผลเสียถึงโครงสร้างอาคารอีกด้วย ทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตขึ้นที่เรียกว่า คอนกรีตโพรง
- ตรวจการผูกเหล็กเส้นว่ามีการผูกลวดในส่วนที่ผ่านกัน และมีการต่อเนื่องกัน ลักษณะการผูกลวดถูกต้องหรือไม่ ต้องผูกให้ถูกต้องและแน่นหนา ตลอดจนเก็บปลายลวดที่เหลือต้องให้เรียบร้อย
- เหล็กเส้นที่ผูกไว้นาน แต่ยังไม่ได้เทคอนกรีตอาจเกิดสนิมขึ้นได้ ควรที่จะขจัดสนิมออกบ้างก่อนที่จะเทคอนกรีต มิฉะนั้นอาจมีผลเสียต่อโครงสร้างคอนกรีต แต่ไม่ต้องถึงกับขัดให้เป็นมัน เพราะแทนที่จะเป็นผลดีกับเป็นผลเสียในการยึดหน่วงของคอนกรีตกับเหล็กเส้น
- การคดงอของเหล็กเส้นที่ผูกไว้ สาเหตุจากการถูกเหยียบหรือถูกงัด ถ้าเหล็กเส้นคดงอน้อยอาจดัดกลับสภาพเดิมได้ แต่ถ้างอมากต้องแก้ไข โดยเปลี่ยนเหล็กเส้นใหม่ เพราะในส่วนที่คดงอนอกจากจะมีผลกับการรับกำลังแล้ว บางครั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการแทรกตัวของวัสดุหยาบในส่วนผสม ของคอนกรีตด้วย
- การหนุนและรองเหล็กเส้น โดยทั่วไปโครงเหล็กเส้นจะต้องมีการหนุนให้ห่างจากแบบเท่ากับความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเส้น ลูกปูนที่หนุนจะต้องหนุนเป็นระยะในช่วงที่เหล็กเส้นไม่สามารถแอ่นตัวได้
สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน Metalsteelok เป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก และเหล็กตัวซี ซึ่งเหล็กของเราเป็นเหล็กคุณภาพดี มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าคุ้มราคา โดยเราจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี หากต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์ในการผลิตเหล็ก เราพร้อมให้คำแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณ
สนใจสอบถามได้ที่
Tel: 0982288288, 0989728298, 0629696696, 0839149556
Line ID: @metalsteelok
Email: [email protected]