5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยดัดเหล็กเส้น หรือเคยดัดเหล็กเส้นมาบ้างแล้ว แต่เมื่อดัดเหล็กเส้นทีไรเหล็กเส้นก็หักตลอด ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากสาเหตุอะไร สำหรับใครที่อ่านบทความนี้อยู่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้แอดมินมีเทคนิคดี ๆ ในการดัดเหล็กเส้นไม่ให้หักมาฝากกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

สาเหตุที่ทำให้เหล็กเส้นหัก

สำหรับสาเหตุที่ดัดเหล็กเส้นแล้วเหล็กเส้นหักนั้นจะมีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเหล็กเส้นเอง อุปกรณ์ หรือวิธีที่ใช้ในการดัดเหล็กเส้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลัก ๆ ที่เหล็กเส้นหักขณะที่กำลังดัดนั้น จะเกิดมาจากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน และวิธีการดัดเหล็กเส้นที่ไม่ถูกต้องจึงทำให้เหล็กเส้นหัก

เทคนิคการดัดเหล็กเส้นไม่ให้หัก

อุปกรณ์ที่ใช้ในการดัดเหล็กเส้น

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการดัดเหล็กเส้นจะต้องได้มาตรฐาน โดยอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ดัดเหล็กเส้นนั้นจะมีหลายชนิดด้วยกันนั้นก็คือ

  • ประแจดัดเหล็ก ใช้สำหรับเหล็กเส้นขนาดเล็กโดยเฉพาะเหล็กปลอก ซึ่งการใช้ประแจไม่สามารถที่จะควบคุมรัศมีดัดได้ และคุณภาพชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
  • เครื่องดัดเหล็ก ช่วยทุ่นแรงในการดัดเหล็กเส้นได้ สามารถดัดเหล็กเส้นได้ทุกขนาด ปัจจุบันมีเครื่องดัดหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบมือถือ และแบบแท่นดัด
  • เครื่องดัดเหล็กอัตโนมัติ โดยตัวเครื่องจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงาน และความถนัดของผู้ใช้ ซึ่งการใช้เครื่องดัดสามารถควบคุมคุณภาพชิ้นงานได้ดีกว่าการใช้ประแจดัด

เลือกหัวดัดเหล็กเส้นให้เหมาะกับงาน

ในการเลือกหัวดัเหล็กเส้นให้เหมาะกับงานที่จะนำไปใช้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเหล็กเส้นที่ผ่านมาตรฐานการผลิต มอก. จะสามารถดัดได้รัศมีเล็กถึง 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่แล้วทุกเส้น แต่เหล็กเส้นไม่ได้มีขนาดเดียว โดยเหล็กเส้นแต่ละขนาดจะมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กที่สุดที่ไม่เท่ากัน ดังนี้

ขนาดของเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในที่เล็กที่สุด
6 มม. – 25 มม.6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้น
28 มม. – 36 มม.8 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้น
44 มม. – 57 มม.10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้น
5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก

ไม่ควรดัดเหล็กเส้นกลับไปกลับมา

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรทำมาก ๆ เลยนั่นก็คือการดัดเหล็กเส้นกลับไปกลับมา เพราะการดัดเหล็กซ้ำหลาย ๆ ครั้งจะทำให้คุณสมบัติของเหล็กเส้นเปลี่ยนไป แต่ถ้าหากจำเป็นจะต้องดัดเหล็กเส้นกลับจริง ๆ ควรจะทำการดัดเหล็กเส้นด้วยวงโค้งที่กว้างมากที่สุดเท่าที่จะกว้างได้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

ไม่ควรดัดเหล็กเส้นตรงรอยเชื่อม

ถ้าจะให้ดีควรหลีกเลี่ยงการดัดเหล็กเส้นตรงรอยเชื่อม และห้ามไม่ให้ดัดเหล็กเส้นใกล้ ๆ รอยเชื่อมเกินกว่าระยะ 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้น อย่างเช่น ต้องการจะดัดเหล็กเส้นขนาด 16 มิลลิเมตร มุม 90 องศา ควรใช้หัวดัดที่ไม่เล็กไปกว่า 9.6 เซนติเมตร (16×6 = 96) ก็เพื่อความปลอดภัย และป้องกันการเสียหายของงาน หรือโครงสร้างที่เรานำเหล็กเส้นไปใช้งาน

ไม่ควรดัดเหล็กเส้นโดยใช้ความร้อน

การใช้ความร้อนในการดัดเหล็กเส้นมีโอกาสที่จะทำให้โครงสร้างเหล็กเส้นเปลี่ยนไปซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังในการรับแรงได้ สำหรับการดัดเหล็กเส้นควรดัดเหล็กเส้นที่อุณหภูมิห้อง ถือเป็นมาตรฐานในการดัดเหล็ก เรียกว่า การดัดเย็น

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเทคนิคในการดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หักที่แอดมินได้แนะนำไป หากใครที่ดัดเหล็กเส้นแล้วหักอยู่บ่อย ๆ ก็อย่าลืมที่จะเอาเทคนิคที่แอดมินบอกไปลองปรับใช้กันดูนะคะ

สำหรับผู้รับเหมา หรือใครที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ อย่างเช่นเหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก เหล็กเส้น และเหล็กตัวซีอยู่ Metalsteelok เราเป็นโรงงานผลิต และจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเหล็กของเรามีคุณภาพดีได้มาตรฐานถูกต้อง ในราคาที่ย่อมเยาทั้งปลีกและส่ง ซึ่งคุณลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกค้า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการผลิตเหล็กให้กับคุณนะคะ

สนใจสอบถามได้ที่

Tel: 0982288288098972829806296966960839149556

Line ID: @metalsteelok

Email: [email protected]

Facebook: okmetalsteel

5 เทคนิคดัดเหล็กเส้นอย่างไรไม่ให้หัก