เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง การจะเริ่มต้นสร้างบ้านสักหลังหนึ่งแน่นอนว่าการเลือกวัสดุต่าง ๆ นั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก หากเราเลือกใช้วัสดุที่ไม่ตรงกับการนำไปใช้งาน สิ่งที่ตามมาก็คือบ้านไม่แข็งแรงและต้องซ่อมบ้านบ่อย ๆ จะดีกว่าไหมหากสร้างบ้านครั้งเดียวแต่ใช้งานได้นาน ๆ วันนี้แอดมินมีเทคนิคในการเลือกเหล็กเส้นที่จะนำไปใช้งานโครงสร้างบ้านมาฝากกันค่ะ

ส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างบ้านจะนิยมนำเหล็กเส้นมาเป็นเหล็กเสริมคอนกรีต โดยนำมาใช้ทำส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น รวมถึงผนังก่ออิฐ ซึ่งหน้าที่ของเหล็กเส้นในโครงสร้างเสริมคอนกรีตก็คือการรับแรงดึง ในขณะที่คอนกรีตทำหน้าที่รับแรงอัด หรือแรงกด และอย่างที่หลาย ๆ คนทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็กเส้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน

ทำให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นทั้ง 2 ประเภทที่ต่างกันส่งผลในเรื่องของความสามารถในการรับแรงดึงของงานโครงสร้าง ส่วนประกอบทางเคมีในเนื้อเหล็กแต่ละประเภทก็มีผลในการรับแรงเช่นกัน เรียกว่า “ค่ากำลังรับแรงดึง” หรือ “ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก” มีหน่วยเป็น “กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (กก./ ตร.ซม. หรือ ksc)

ประเภทของเหล็กเส้น

  1. เหล็กเส้นกลม ซึ่งลักษณะของเหล็กเส้นกลมจะมีผิวที่เรียบ เกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งการใช้งานของเหล็กเส้นกลมจะนิยมใช้กับโครงสร้างพื้นหล่อกับที่, งานหล่อเคาน์เตอร์, เสาเอ็น, คานเอ็น (ทับหลัง) ของผนังก่ออิฐ และทำหน้าที่เป็นเหล็กยึดผนังเข้ากับเสาเพื่อป้องกันผนังล้มที่เรียกว่า “เหล็กหนวดกุ้ง”
  2. เหล็กเส้นข้ออ้อย จะมีลักษณะเส้นกลม มีบั้ง หรือครีบ ซึ่งเหล็กเส้นข้ออ้อยจะนิยมนำไปใช้กับงานโครงสร้างหลักประเภทเสา, คาน, บันได, ผนังรับน้ำหนัก รวมถึงบ่อ หรือสระน้ำต่าง ๆ เพราะมีค่ากำลังรับแรงดึงมากกว่าเหล็กเส้นกลม  และด้วยพื้นผิวที่ไม่เรียบจึงช่วยยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีตได้ดีกว่า
เลือกใช้เหล็กเส้นให้ถูกเพื่อบ้านที่แข็งแรง

วิธีอ่านค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก

วิธีการอ่านค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้นกลมจะระบุเป็น SR (Steel Round Bar) และเหล็กเส้นข้ออ้อยจะระบุเป็น SD (Standard Deformed Bar) แล้วตามด้วยตัวเลขที่บ่งบอกค่ากำลังรับแรงดึง อย่างเช่น

มาตรฐานของเหล็กเส้น

นอกจากจะเลือกเหล็กเส้นจากค่ากำลังรับแรงดึงแล้ว เรายังต้องดูอีกว่าเหล็กเส้นที่จะนำมาใช้งานนั้นได้มาตรฐาน มีคุณภาพหรือไม่ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน โดยมาตรฐานของเหล็กเส้นมี 2 ประเภท คือ

  • เหล็กเต็ม หรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก.
  • เหล็กเบา หรือเหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง)

โดยเหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40 สตางค์ – 1 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่แบบกำหนดไว้ เพราะแท้จริงแล้วเหล็กเบาเหมาะกับงานหล่อที่ไม่เน้นเรื่องการรับน้ำหนัก หรือในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก อย่างเช่น ใช้เป็นเหล็กหนวดกุ้ง หรือใช้เป็นเหล็กเสริมสำหรับหล่อเคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น

สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ อย่างเช่นเหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก เหล็กเส้น และเหล็กตัวซีอยู่ Metalsteelok เราเป็นโรงงานผลิต และจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเหล็กของเรามีคุณภาพดีได้มาตรฐานถูกต้อง ในราคาที่ย่อมเยาทั้งปลีกและส่ง ซึ่งคุณลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกค้า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการผลิตเหล็กให้กับคุณนะคะ

สนใจสอบถามได้ที่

Tel: 0982288288098972829806296966960839149556

Line ID: @metalsteelok

Email: [email protected]

Facebook: okmetalsteel