เหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว T และไม่มีตัว T ต่างกันอย่างไร
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว T และไม่มีตัว T ต่างกันอย่างไร
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว T และไม่มีตัว T ต่างกันอย่างไร เวลาที่เราจะใช้งานเหล็กเส้นข้ออ้อยหลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยบางเส้นจะมีสัญลักษณ์ตัว T และไม่มีสัญลักษณ์ตัว T แล้วเหล็กเส้นข้ออ้อยทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้แอดมินมีคำตอบมาบอกกันค่ะ
การผลิตเหล็กข้ออ้อย
ในการผลิตเหล็กข้ออ้อยนั้นจะต้องนำเหล็กที่เป็นเส้นหลังจากหลอมด้วยความร้อน มาทำให้ขนาดเล็กลงด้วยการนำไปอบให้เหล็กมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนเหล็กอ่อนตัวลง ทำให้เหล็กสามารถรีดเพื่อลดขนาดลงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า “การรีดร้อน” หลังจากรีดร้อนให้ได้ขนาดตามที่กำหนดแล้ว ในขั้นตอนต่อมานี้เองที่จะมีความแตกต่างกัน จากที่เหล็กเส้นข้ออ้อยปกติจะปล่อยให้เย็นตัวลงในอุณหภูมิห้อง แต่เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนนั้นจะนำเหล็กที่ได้มาทำให้เย็นโดยการฉีดสเปรย์น้ำ ทำให้ผิวเหล็กแข็ง แต่ภายในจะค่อย ๆ เย็นตัวลงทำให้มีความเหนียว
ผลที่ได้คือเหล็กเส้นข้ออ้อยประเภทนี้จะไม่ต้องปรุงแต่งส่วนผสมเหล็ก ทำให้มีธาตุ Carbon และ Manganese น้อยกว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยทั่วไป ซึ่งจะเรียกเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนนี้ว่า Temp-core Rebar
ด้วยเหตุนี้เอง ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) จึงกำหนดให้ระบุสัญลักษณ์ตัว “T” ไว้เพื่อบ่งบอกวิธีการผลิต และเตือนไม่ให้ผู้ใช้งานนำเหล็กเส้นข้ออ้อยประเภทนี่ไปใช้ผิดประเภท อย่างเช่น การกลึง หรือทำให้ผิวของเหล็กเส้นข้ออ้อยหายไป ซึ่งจะส่งผลต่อโครงสร้างเสริมเหล็กได้
การใช้งานเหล็กเส้นข้ออ้อย
- คุณสมบัติทางกล
คุณสมบัติทางกลได้แก่ กำลังดึง ความยืด และการดัดโค้ง ของเหล็กเส้นข้ออ้อยทั้ง 2 ประเภทนี้ จะต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อให้คุณสมบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ดังนั้น จึงหายห่วงเรื่องคุณสมบัติทางกลต่าง ๆ เพราะเหล็กเส้นข้ออ้อยทั้ง 2 ประเภทนี้จะให้คุณสมบัติทางกลที่ไม่ต่างกัน
- การต่อเหล็กเส้นข้ออ้อย
โดยปกติแล้วการต่อเหล็กจะทำได้โดยการต่อทาบเหล็ก (lapped splice) คือการนำเหล็ก 2 ท่อนมาทาบต่อกันแล้วมัดให้ติดกันด้วยลวดผูกเหล็ก เพื่อให้ได้ความยาวของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ยาวขึ้น
โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีหนึ่งกำลังได้รับความนิยมที่ช่วยในการต่อโดยใช้ข้อต่อทางกล ได้แก่ ระบบ Soft cold forging คือการขึ้นรูปเย็นที่ปลายชิ้นงานทำให้มีขนาดที่ปลายใหญ่กว่าเดิมก่อนนำไปทำเกลียว เพื่อชดเชยพื้นที่หน้าตัดที่หายไป
ทั้งนี้การต่อเหล็กทั้งในการต่อเชื่อม (welding) และการใช้ข้อต่อทางกล (mechanical coupler) ในทั้ง 2 ประเภทนั้นควรเป็นไปตามกำหนดของ วสท.1008-38 ข้อ 4513 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
- ความทนทานต่อไฟ
มีผลงานวิจัยของ R.Felicetti ที่ได้ศึกษากำลังรับแรงดึงของเหล็กข้ออ้อยที่มี T และเหล็กข้ออ้อยทั่วไป ที่อุณหภูมิต่าง ๆ ซึ่งผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า กำลังรับแรงดึงของเหล็กเส้นข้ออ้อยทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่มีความแตกต่างกันมากในอุณหภูมิที่เท่ากัน หากนำเหล็กเส้นข้ออ้อยไปใช้เสริมคอนกรีต และกำหนดระยะหุ้มให้เป็นไปตามมาตรฐาน จะสามารถต้านทานไฟได้ไม่แตกต่างกันเลย
สรุปการใช้งานเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน
- ความแตกต่างของเหล็กเส้นข้ออ้อยทั้งสองประเภท ในขั้นตอนการผลิตที่ทำให้เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนมีความแข็งที่ผิว ดังนั้นการนำไปใช้โดยการนำไปกลึงจึงควรระมัดระวัง
- คุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้นข้ออ้อย ซึ่งประกอบไปด้วย กำลังรับแรงดึง ความยืด การดัดโค้ง จะไม่ต่างกับเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผลิตจากการปรุงแต่งด้วยธาตุ
- การต่อเหล็กเส้นข้ออ้อย ได้แก่ การต่อทาบ การต่อเชื่อม และการใช้ข้อต่อทางกล ไม่ต่างกันแต่ต้องจัดให้มีการทดสอบกำลังดึงของจุดต่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- ความทนทานต่อไฟไม่มีความต่างกัน และหากนำไปใช้เสริมคอนกรีต และกำหนดระยะหุ้มให้เป็นไปตามมาตรฐาน และกฎหมายจะมีสมรรถนะในการต้านทานไฟที่ดี ไม่แตกต่างกัน
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ : ensyndrome.com
สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ อย่างเช่นเหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก เหล็กเส้น และเหล็กตัวซีอยู่ Metalsteelok เราเป็นโรงงานผลิต และจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเหล็กของเรามีคุณภาพดีได้มาตรฐานถูกต้อง ในราคาที่ย่อมเยาทั้งปลีกและส่ง ซึ่งคุณลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกค้า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการผลิตเหล็กให้กับคุณนะคะ
สนใจสอบถามได้ที่
Tel: 0982288288, 0989728298, 0629696696, 0839149556
Line ID: @metalsteelok
Email: [email protected]
Facebook: okmetalsteel