เทคนิคเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อยให้ได้คุณภาพดี
เทคนิคเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อยให้ได้คุณภาพดี
เทคนิคเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อยให้ได้คุณภาพดี หลาย ๆ คนก็คงจะรู้กันอยู่แล้วว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นเหล็กอีกหนึ่งประเภทที่อยู่ในหมวดของเหล็กเส้น ซึ่งเหล็กเส้นข้ออ้อย หรือเหล็ก DB จะมีลักษณะผิวที่มีบั้ง หรือปล้องอยู่ตลอดทั้งเส้น สำหรับใครที่ต้องใช้งานเหล็กเส้นข้ออ้อย วันนี้แอดมินมีเทคนิคการเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อยมาฝากกันค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างตามไปดูกันเลยค่ะ
การเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อย
คุณรู้หรือไม่ ? ถ้าหากเราเลือกใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ผ่านมาตรฐาน จะทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารโดยตรง และจะทำให้อาคารไม่มีความแข็งแรง แต่ถ้าหากเราเลือกใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่แข็งแรง และได้มาตรฐานการผลิตเราก็จะหมดห่วงในเรื่องของอาคารที่สร้างนั้นไม่แข็งแรง
เหล็กข้ออ้อยที่ดีควรผลิตจากเตา EF
ประเทศทางฝั่งยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ อินเดีย จีน หรือออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งประเทศที่กล่าวมาข้างต้นต่างก็ใช้เตา EF ในการผลิตเหล็กเส้นข้ออ้อย เพราะจะได้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีคุณภาพดี เนื้อเหล็กสม่ำเสมอ และกระบวนการ EF ยังสามารถกำจัดสารมลทิน และสิ่งเจือปนออกจากตัวเหล็กได้ ทำให้เหล็กสะอาดเหมือนใหม่ เพราะการที่เหล็กมีสารมลทินจำนวนมาก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เหล็กไม่แข็งแรง แตกหักได้ง่าย และนอกจากนี้เตา EF ยังสามารถควบคุมส่วนประกอบทางเคมีได้อย่างแม่นยำ ทำให้เหล็กที่ได้มีคุณภาพสูง แข็งแรงเหมาะกับงานก่อสร้าง ดังนั้น เหล็กเส้นข้ออ้อยที่เลือกใช้จึงควรผลิตจากเตา EF
ทำความรู้จักกับกำลังรับแรงดึงที่จุดคราก
ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 SD40 SD40S SD50 และ SD50S เป็นต้น จะมีค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดครากในปริมาณต่างกัน คือ เหล็กเส้นข้ออ้อยจะมีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3,000 ksc., 4,000 ksc. และ 5,000 ksc. โดยในการใช้งานเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 SD40 SD40S SD50 และ SD50S ตามลำดับ ในบางครั้งหากเลือกใช้เหล็กที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากสูง ก็สามารถประหยัดจำนวนเหล็ก และต้นทุนในการก่อสร้างได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีหน้าที่คำนวณว่าอาคารประเภทนี้ ควรใช้เหล็กเส้นประเภทใด ก็คือ วิศวกรโยธา
ผ่าน มอก. รับรองความปลอดภัย
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่เราจะนำมาใช้ในงานก่อสร้างแน่นอนว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยจะต้องผ่านมาตรฐานเหล็กเส้นฉบับใหม่ พ.ศ. 2559 จาก มอก. 24-2548 เป็น มอก. 24-2559 นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถสังเกตเหล็กเส้นที่ดีได้จากการตรวจสอบด้วยสายตาคร่าว ๆ โดยเริ่มจากมองหาป้ายสินค้าที่แสดงรายละเอียดสินค้า อย่างเช่น ชื่อผู้ผลิต ชนิด ขนาดความยาว และเครื่องหมาย มอก. หรือในกรณีที่ป้ายสินค้าหลุดออก ก็สามารถสังเกตจากบนเนื้อเหล็กได้เช่นเดียวกัน ขั้นตอนต่อมา คือ สังเกตผิวเหล็ก โดยผิวเหล็กที่ดีจะมีบั้ง นูนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น และเมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก และหัก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเทคนิคการเลือกเหล็กเส้นข้ออ้อยให้ได้คุณภาพดีที่แอดมินได้แนะนำไป ซึ่งแอดมินหวังว่าข้อมูลที่ได้แนะนำไปจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ : wazzadu.com
สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาโรงงานผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ อย่างเช่นเหล็กกล่อง เหล็กเกรดบี เหล็กเกรดซี เหล็กรูปพรรณ เหล็กมือสอง เหล็กราคาถูก เหล็กเส้น และเหล็กตัวซีอยู่ Metalsteelok เราเป็นโรงงานผลิต และจำหน่ายเหล็กมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเหล็กของเรามีคุณภาพดีได้มาตรฐานถูกต้อง ในราคาที่ย่อมเยาทั้งปลีกและส่ง ซึ่งคุณลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกค้า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการผลิตเหล็กให้กับคุณนะคะ
สนใจสอบถามได้ที่
Tel: 0982288288, 0989728298, 0629696696, 0839149556
Line ID: @metalsteelok
Email: [email protected]
Facebook: okmetalsteel