สนิมเหล็ก
สนิมเหล็ก
สนิมเหล็ก สนิมกับเหล็กเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แล้วสำหรับเหล็กก่อสร้างหล่ะ!! เมื่อเราต้องพบเจอเหล็กเป็นสนิมอยู่บ่อยครั้ง ถ้าจะพูดถึงว่าทำไมเหล็กถึงเป็นสนิม เมื่อหาอ่านก็มีคำอธิบายเยอะแยะมากมาย แต่ถ้าสรุปให้สั้นๆแล้วเข้าใจง่ายก็คือ กระบวนการเกิดสนิม มีปัจจัยหลักๆ คือ น้ำและออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศโลกนั่นแสดงว่าสิ่งที่จะทำให้เหล็กเกิดสนิมนั้นอยู่รอบตัวเราเลยทีเดียว
สนิมผิวคือ สนิมซึ่งเกิดจากการที่ออกซิเจนในอากาศหรือน้ำมาทำปฏิกิริยากับเหล็กเช่นเดียวกับสนิมทั่วๆ ไป เพียงแต่สนิมผิวนั้นจะเกิดขึ้นที่บริเวณ “ผิวเหล็ก” (ต่างกับสนิมขุมซึ่งกัดกร่อนไปถึงเนื้อเหล็ก) สามารถขัดออกได้ง่าย ในวงการก่อสร้าง เหล็กเสริมที่เป็นสนิมผิวยังสามารถใช้งานได้ เนื่องจากสนิมเกิดขึ้นบริเวณผิวจึงไม่ได้ทำให้เหล็กเสริมเสียกำลังในการรับแรง
สนิมมีหลายระดับ มีการแยกระดับสนิมไว้ดังนี้
1. สนิมทั่วไป เกิดบนผิวเหล็กเปลือย เกิดบนผิวเหล็กที่มีการทาสีแล้ว
2. สนิม Galvanic เมื่อโลหะสองชนิดสัมผัสกัน โลหะที่ไวต่อการเกิดสนิมมากกว่า ซึ่งจะมีประจุเป็นลบ (anode) จะขึ้นสนิมก่อนโลหะที่มีประจุเป็นบวก (cathode)
3. สนิมหลุม เมื่อเกิดสนิมปริมาณมากรวมอยู่ในพื้นที่แคบ
4. สนิมตามรอยแยก เมื่อเกิดสนิมขึ้นในช่องแคบระหว่าง ชิ้นส่วนเล็ก ๆ เช่นระหว่าง เกลียวกับหัวหมุด
ความไม่สวยงาม บางทีก็มีประโยชน์
จะว่าไปแล้วสนิมก็มีข้อดีอยู่ เช่น การเชื่อมเหล็ก และ สลักเกลียว ซึ่งเป็นขั้นตอนการประกอบยึดรั้งโครงสร้างอาคารไว้ด้วยกัน จำเป็นต้องมีอีกตัวช่วยที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง เป็นตัวช่วยจากธรรมชาติ นั่นคือ “สนิม” ที่จะช่วยยึดเหนี่ยวโครงสร้างไว้ให้ดียิ่งขึ้น
ได้ฟังอย่างนี้แล้ว สนิมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ก่อนสั่งซื้อเหล็กอย่าลืมเช็คเรื่องสภาพของสนิมว่าอยู่ในระดับไหน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ถ้าความต้องการตรงกันก็สั่งซื้อได้เลย แต่ก่อนสั่งซื้ออย่าลืมเช็คราคาเหล็กที่นี่